บ้านรักษ์โลก (Eco House) เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อยู่อาศัยให้ยั่งยืน

บ้านรักษ์โลก สร้างความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน

ESG หมายถึง

 

ในยุคที่โลกเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างหนัก การหันมาใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมจึงกลายเป็นสิ่งที่ผู้คนทั่วโลกเริ่มตระหนักมากขึ้น หนึ่งในแนวทางที่มีส่วนช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้นั้่นก็คือ การสร้างบ้านที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือที่เรียกว่า “บ้านรักษ์โลก” การสร้างบ้านลักษณะนี้มีความสำคัญที่จะช่วยเรื่องของการประหยัดพลังงาน, ลดค่าใช้จ่าย, ลดการเบียดเบียนสิ่งแวดล้อม และมอบคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นให้กับผู้อยู่อาศัย
 

สารบัญบทความ

บ้านรักษ์โลก (Eco House) คืออะไร?

ส่อง 6 เทรนด์บ้านรักษ์โลก ที่เน้นความคุ้มค่าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

วิธีสร้างบ้านรักษ์โลกให้เหมาะกับประเทศไทย

เลือกบ้านรักษ์โลกมากกว่าที่อยู่อาศัย การเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ยั่งยืน

บ้านรักษ์โลก (Eco House) คืออะไร?

รักษ์โลก

 

บ้านรักษ์โลก หรือเรียกว่า Eco House เป็นบ้านที่ถูกออกแบบภายใต้แนวคิดคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก โดยเน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า ลดการปล่อยมลพิษและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เริ่มตั้งแต่จัดสรรพื้นที่บ้านทุกตารางเมตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เลือกใช้วัสดุรักษ์โลกในการก่อสร้าง มองหาเทคโนโลยีทางเลือกต่าง ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ภายในบ้าน และที่สำคัญยังมีการออกแบบบ้านรักษ์โลกเพื่ออยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างกลมกลืนอีกด้วย

ส่อง 6 เทรนด์บ้านรักษ์โลก ที่เน้นความคุ้มค่าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ไม่ว่าจะเป็นสร้างบ้านใหม่ หรือรีโนเวทบ้านเก่า แนะนำให้ผู้ที่กำลังวางแผนอยู่นี้หันมาสนใจเรื่องการสร้าง “บ้านรักษ์โลก” กันมากขึ้น ดังนั้นมาดูกันว่าเทรนด์นี้จะมีอะไรบ้างที่น่าสนใจและสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง

1. ออกแบบบ้านเพื่อให้อากาศถ่ายเท

การสร้างบ้านสักหลัง นอกจากจะต้องคำนึงถึงความสวยงามและความแข็งแรงของโครงสร้างแล้ว การออกแบบให้สอดคล้องกับธรรมชาติและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การออกแบบผังบ้านให้สอดคล้องกับทิศทางลมและแสงแดด อย่างการออกแบบประตูและหน้าต่างให้มีขนาดและตำแหน่งที่เหมาะสมจะช่วยให้ลมสามารถไหลเวียนภายในบ้านได้อย่างสะดวกเพื่อช่วยระบายอากาศภายในบ้าน ลดความร้อน และลดการใช้เครื่องปรับอากาศ ให้มีการไหลเวียนของอากาศภายในตัวบ้าน เพียงเท่านี้ก็เป็นสิ่งเล็ก ๆ ที่จะกลายเป็นบ้านรักโลกอย่างแท้จริง

2. วัสดุก่อสร้างจากวัสดุรีไซเคิล

เลือกใช้วัสดุก่อสร้างจากวัสดุรีไซเคิลเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างบ้านรักษ์โลก เช่น แผ่นยิปซัมตราช้างที่ได้รับการรับรอง “ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์” ที่มีส่วนประกอบมาจากวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ใช้ติดตั้งเป็นผนังและฝ้าภายในอาคาร นอกจากนี้ยังมีวัสดุก่อสร้างจากวัสดุรีไซเคิลอีกมากมายที่น่าสนใจ อย่างวัสดุที่ผลิตจากเศษกระเบื้อง เศษแก้ว  เศษไม้ หรือเศษกระดาษ ช่วยลดปริมาณขยะและลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติไปได้มาก

อ่านบทความเพื่อทำความรู้จัก Carbon Footprint ที่นี่ : Carbon Footprint คือ?

3. การจัดสวนเล็ก ๆ เพิ่มพื้นที่สีเขียว

บ้านรักษ์โลก หรือ Eco House นั้นเน้นการใช้ชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การจัดสวนเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวเล็ก ๆ ภายใน-ภายนอกตัวบ้านนั้นเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยเพิ่มอากาศบริสุทธิ์และเติมความสดชื่นให้บ้าน นอกจากนี้ ต้นไม้บางสายพันธุ์มีความสามารถในการดูดซับสารพิษและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดมลพิษทางอากาศภายในบ้านได้อีกด้วย เช่น ต้นลิ้นมังกร, ต้นราชพฤกษ์, ต้นยางอินเดีย, ต้นโกสน และอื่น ๆ อีกมากมาย

4. ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์จากพลังงานแสงอาทิตย์

เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่นึกถึงบ้านรักษ์โลกก็จะคิดถึงการใช้แผงโซลาร์เซลล์ (Solar Cell Panel) อุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า เพื่อประหยัดค่าไฟในแต่ละเดือน ลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล ไม่ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นสาเหตุของภาวะเรือนกระจก หากใครที่กำลังลังเล อย่ารอช้าที่จะติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปเพราะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาวอย่างยั่งยืนแน่นอน มาร่วมสร้างบ้านรักโลกที่น่าอยู่ไปด้วยกัน

5. เลือกใช้เฟอร์นิเจอร์รักษ์โลก

เฟอร์นิเจอร์รักษ์โลกหรือ Sustainable Furniture ถูกออกแบบและผลิตขึ้นโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเลือกใช้วัสดุ การผลิต ไปจนถึงการกำจัดเมื่อหมดอายุการใช้งาน เป้าหมายหลักคือการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด 

ข้อดีของเฟอร์นิเจอร์รักษ์โลกส่วนใหญ่จะมีฟังก์ชันใช้งานครบครัน เพราะนักออกแบบเฟอร์นิเจอร์จะคำนึงถึงการใช้งานที่สามารถปรับใช้ได้หลากหลายแบบ ดีไซน์สวยงามไม่ตกยุค ทำให้บ้านดูมีเอกลักษณ์และน่าอยู่มากขึ้น

6. ใช้พื้นที่ทุกส่วนอย่างคุ้มค่า

บ้านรักษ์โลก ไม่ใช่แค่การเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังรวมถึงการออกแบบและใช้พื้นที่อยู่อาศัยให้เกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย การใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่า จะช่วยลดปริมาณวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง ลดค่าใช้จ่าย และยังเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างคุ้มค่า 

หนึ่งในตัวอย่างคือการออกแบบพื้นที่เก็บของให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น ตู้บิลต์อิน ชั้นลอย หรือชั้นวางของที่สามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ด้านบนได้  หรือออกแบบบ้านรักษ์โลกให้รับแสงและลมธรรมชาติได้อย่างเต็มที่ ลดการใช้ไฟฟ้าสำหรับแสงสว่างและเครื่องปรับอากาศ

ศึกษาเพิ่มเติม Netzero คืออะไร สำคัญกับการแก้ปัญหาโลกร้อนอย่างไรบ้าง?

วิธีสร้างบ้านรักษ์โลกให้เหมาะกับประเทศไทย

รักโลก

 

สำหรับวิธีสร้างบ้านรักษ์โลกให้เหมาะกับประเทศไทยโดยเฉพาะนั้น ส่วนมากต้องคำนึงถึงสภาพอากาศของประเทศ ด้วยความที่ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน ทำให้การออกแบบโครงสร้างบ้านรักษ์โลกต้องสอดคล้องกับทิศทางแสงส่องและลมพัด เพื่อการระบายอากาศและการควบคุมอุณหภูมิภายในบ้าน อาทิ เลือกขนาดความสูงของหน้าต่างให้พอดีกับความสูงของเก้าอี้หรือเตียง ไม่วางเฟอร์นิเจอร์บังลม หรือหากในเรื่องของทิศทาง 

ถ้าเป็นห้องครัวควรอยู่ทิศตะวันออกจะได้รับแสงแดดอ่อน ๆ ในตอนเช้า และควรหลีกเลี่ยงการสร้างห้องนอนหรือห้องที่ใช้พักผ่อนไปทางทิศตะวันตก เนื่องจากจะได้รับแสงแดดจัดในช่วงบ่ายทำให้บ้านร้อนอบอ้าว และอีกตัวช่วยให้บ้านเย็นสบายขึ้นคือ การติดตั้งฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาช่วยป้องกันความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ภายในบ้านได้อีกด้วย

เลือกบ้านรักษ์โลกมากกว่าที่อยู่อาศัย การเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ยั่งยืน

บ้านรักษ์โลกไม่ใช่แค่ที่อยู่อาศัย แต่คือการลงทุนที่ยั่งยืน ด้วยการออกแบบที่เข้าใจปัญหาสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การจัดวางผังบ้านให้รับลมและแสงธรรมชาติอย่างเหมาะสม ไปจนถึงการเลือกเฟอร์นิเจอร์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ช่วยให้ท่านใช้ชีวิตได้อย่างสบายใจ ประหยัดพลังงาน และยังได้เป็นส่วนหนึ่งในการดูแลโลกใบนี้อีกด้วย

มองหาวัสดุรักษ์โลกกันอยู่หรือไม่? ยิปซัมตราช้าง ช่วยป้องกันความร้อนเพราะมีการบุแผ่นสะท้อนรังสีความร้อน สามารถลดความร้อนบริเวณฝ้าใต้หลังคาได้เป็นอย่างดี หาซื้อง่ายที่ร้านผู้แทนจำหน่ายเอสซีจีและร้านขายวัสดุก่อสร้างชั้นนำทั่วประเทศ หรือค้นหาข้อมูลการใช้งานเพิ่มเติมได้ที่

●  เว็บไซต์ : https://www.siamgypsum.com/th_th/

●  Facebook : https://www.facebook.com/GypsumTraChangTH/