รวมเรื่องที่ต้องรู้ก่อนรีโนเวทภายใน ให้พร้อมรับหน้าหนาว

ถึงแม้เมืองไทยจะมีอากาศที่ร้อนเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ต้องยอมรับว่าในบางพื้นที่ของประเทศ หากเข้าสู่ฤดูหนาวเมื่อไร โอกาสที่จะเผชิญกับความหนาวเย็นก็มีอยู่เช่นกัน หรือถึงแม้จะหนาวไม่มากนัก แต่ในช่วงเวลากลางคืน อุณหภูมิภายในบ้านก็อาจเย็นยะเยือกขึ้นมาได้ สำหรับใครที่กำลังวางแผนอยากจะรีโนเวทบ้านใหม่เพื่อเพิ่มความอบอุ่นเมื่อลมหนาวมาเยือน แต่ก็ไม่อยากให้บ้านอบอ้าวในฤดูร้อน จำเป็นจะต้องอาศัยเทคนิคการรีโนเวทภายในด้วยการเลือกใช้วัสดุกันความเย็นที่มีความเฉพาะตัว เพื่อให้บ้านมีอุณหภูมิคงที่และเหมาะสมในแต่ละฤดูกาล   

ในบทความนี้ เราจะมาแนะนำถึงสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำในการติดตั้งฉนวนกันความเย็น เพื่อปรับปรุงบ้านให้เหมาะกับฤดูหนาว ที่จะช่วยรับมือกับอากาศที่เย็นลง อีกทั้งไม่เพียงแต่จะช่วยให้บ้านดูสวยงามขึ้น แต่ยังจะเป็นสถานที่พักผ่อนที่ดีที่สุดสำหรับทุกคนในครอบครัวด้วย

 

Table of Content:

  1. ความสำคัญของการรักษาอุณหภูมิภายในบ้านให้อบอุ่น
  2. สิ่งที่ควรและไม่ควรทำในการรีโนเวทบ้านด้วยฉนวนกันความเย็น
  3. เทคนิคการปรับปรุงบ้านด้วยฉนวนกันความเย็น
  4. การเลือกวัสดุที่เหมาะสมสำหรับหน้าหนาว

 

ความสำคัญของการรักษาอุณหภูมิภายในบ้านให้อบอุ่น

อุณหภูมิภายในบ้านเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อสภาพความเป็นอยู่ของผู้ที่อยู่อาศัยทุกคน เพราะถึงแม้อุณหภูมิปกติของประเทศไทยจะค่อนข้างร้อน แต่ในช่วงเวลากลางคืนหรือเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว หลายบ้านมักต้องเจอกับอุณหภูมิที่ลดลงอย่างกะทันหัน ทำให้ปรับตัวไม่ทัน จนเกิดอาการเจ็บป่วยได้

นอกจากนี้ อากาศที่หนาวเย็นยังอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ทำให้หลายคนนอนหลับไม่สนิท เพราะอากาศภายในบ้านหนาวเย็นจนเกินไป หรือมือเท้าเย็นจนเดินเหินไม่สะดวก การรักษาอุณหภูมิภายในบ้านให้มีความอบอุ่นอยู่เสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเจออากาศหนาวทุกปี ซึ่งการติดตั้งฉนวนกันความเย็นก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยควบคุมอุณหภูมิภายในบ้านได้อย่างลงตัว  

 

สิ่งที่ควรและไม่ควรทำในการรีโนเวทบ้านด้วยฉนวนกันความเย็น

เทคนิคการปรับปรุงบ้านด้วยฉนวนกันความเย็น

สิ่งที่ควรทำ (Do’s)

ติดตั้งฉนวนกันความเย็นระหว่างผนังกับกรอบหน้าต่างหรือประตู

ติดตั้งฉนวนกันความเย็นภายในผนัง

ติดตั้งฉนวนกันความเย็นใต้หลังคาบ้าน

ติดตั้งฉนวนกันความเย็นโดยช่างที่มีประสบการณ์ในการรีโนเวทภายใน

สิ่งที่ไม่ควรทำ (Don't)

ติดตั้งฉนวนกันความเย็นโดยช่างที่ไม่มีประสบการณ์ เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาและเกิดการชำรุดก่อนถึงเวลาอันควร ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมและปรับปรุงเพิ่มเติมอย่างไม่รู้จบ )

 

การเลือกวัสดุฉนวนกันความเย็นที่เหมาะสมสำหรับหน้าหนาว

สิ่งที่ควรทำ (Do’s)

ควรเลือกฉนวนกันความเย็นที่เหมาะสมสำหรับหน้าหนาว เพื่อป้องกันไม่ให้ความร้อนภายในบ้านถ่ายเทออกภายนอกบ้าน และป้องกันไม่ให้ความเย็นภายนอกถ่ายเทเข้ามายังภายในบ้าน ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว สามารถแบ่งชนิดของวัสดุฉนวนกันความเย็นออกเป็นดังนี้

ฉนวนใยแก้ว (Glasswool) เป็นฉนวนกันความเย็นที่ราคาถูก ทนทาน ติดตั้งง่าย ช่วยรักษาอุณหภูมิภายในบ้านให้อบอุ่น

ฉนวนใยหิน (Rockwool) เป็นฉนวนกันความเย็นที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับฉนวนใยแก้ว แต่มีค่าการนำความร้อนสูงกว่าเล็กน้อย ให้ความแข็งแรงทนทานสูง 

ฉนวนโพลีเอสเตอร์ (Polyester insulation) เป็นฉนวนกันความเย็น ที่มีค่าการนำความร้อนสูงกว่าฉนวนใยแก้ว มีน้ำหนักเบา ง่ายต่อการติดตั้ง

ฉนวนโฟม (Foam insulation) เป็นฉนวนกันความเย็นที่มีน้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย มีให้เลือกหลากหลายประเภท เช่น ฉนวนโฟมโพลียูรีเทน ฉนวนโฟมโพลีสไตรีน ฉนวนโฟมโพลีเอทิลีน เป็นต้น

ฉนวนยาง (Rubber insulation) เป็นฉนวนกันความเย็นที่ทนต่อความชื้นและอุณหภูมิสูง มีให้เลือกหลากหลายประเภท เช่น ฉนวนยาง EPDM ฉนวนยาง NBR ฉนวนยาง SBR เป็นต้น

 

สิ่งที่ไม่ควรทำ (Do’s)

ไม่ควรเลือกฉนวนกันความเย็นจากราคาที่ถูกเพียงอย่างเดียว แต่ต้องพิจารณาถึงประสิทธิภาพการใช้งาน ความสะดวกในการติดตั้ง และความแข็งแรงทนทานของฉนวนกันความเย็นด้วย

 

หากต้องการหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการรีโนเวทบ้าน นอกจากจะไม่ควรเลือกใช้วัสดุกันความเย็นที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือการติดตั้งที่ไม่ถูกวิธีแล้ว เจ้าของบ้านควรปฏิบัติตามสิ่งที่เรานำมาแนะนำกันด้วย 

 

ข้อมูลอ้างอิง:

  1. Where to Insulate in a Home. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2566 จาก https://www.energy.gov/energysaver/where-insulate-home

  2. How to Install Insulation. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2566 จาก https://www.lowes.com/n/how-to/install-insulation

  3. How to insulate your home and stay warm this winter. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2566 จาก https://energysavingtrust.org.uk/insulating-your-home-back-to-the-basics/