Universal Design กับการออกแบบบ้านคนวัยเกษียณ

ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบในอนาคตอันใกล้ ส่งผลให้สถาปนิกมืออาชีพที่ได้รับโจทย์ในการออกแบบที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ต้องคำนึงถึงมิติของการใช้งานที่สะดวก ปลอดภัย แต่ยังมีรูปแบบดีไซน์หรืองานออกแบบที่ตอบโจทย์ได้ในเวลาเดียวกัน บทความนี้จะมาพูดถึงแนวทางการตกแต่งดีไซน์บ้านอย่างไร ให้ตอบโจทย์วัยเกษียณ และการจัดพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านสำหรับคนสูงวัยกันครับ

 

 

Universal Design กับการออกแบบบ้านคนวัยเกษียณ

อะไรคือ Universal Design

แนวคิดการออกแบบที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ.1989 โดย Ronald Lawrence Mace หรือที่รู้จักกันในนาม Ron Mace สถาปนิกชื่อดังชาวอเมริกา โดยนำเสนอหลักการการออกแบบเพื่อคนทุกเพศทุกวัยในครอบครัว รวมถึงผู้สูงวัยด้วยเช่นกัน แม้ว่าหลักการดังกล่าวจะผ่านไปกว่า 30 ปี แล้ว แต่สถาปนิกมืออาชีพหลายท่านยังสามารถมาปรับใช้ได้ในการออกแบบที่ยู่อาศัย โดยมีหลักการ ดังนี้

 

คำนึงถึงความปลอดภัย ต้องดีไซน์เพื่อลดความผิดพลาดการใช้งาน (Tolerance of error)

รู้หรือไม่ในประเทศไทย มีผู้สูงอายุเสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้มในบ้าน ปีละ 900 – 1,000 คน เฉลี่ยวันละ 2 – 3 คน ดังนั้นความปลอดภัยสำหรับผู้สูงวัย เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงเป็นอันดับแรก ตามหลักการการออกแบบให้ลดความผิดพลาด ยกตัวอย่าง ทางเดินของบ้านที่มีผู้สูงอายุ ต้องคำถึงความเรียบสม่ำเสมอกัน ไม่ว่าจะเป็นลานทางเดิน ชานบ้าน ระเบียง หรือเฉลียงบ้าน พื้นที่เหล่านี้ทำให้เป็นพื้นระดับควรเลือกใช้วัสดุพื้นที่ไม่ลื่นและช่วยลดแรงกระแทกได้

ในส่วนทางเข้าบ้าน ควรใช้ทางลาดแทนการใช้บันไดเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถที่จะเข้า-ออกได้สะดวก โดยทางลาดต้องมีระดับความชันไม่เกิน 1:12 (พื้นต่างระดับ 1 เมตร ต้องมีทางลาดยาว 12 เมตร) ในขณะที่ความกว้างสุทธิของทางลาดกว้าง 90-150 ซม.มีความยาวของแต่ละช่วงไม่เกิน 600 ซม. (กรณีที่เกิน ควรจะทำจุดพักหรือชานพักไว้) วัสดุที่ใช้ปูพื้นต้องไม่ลื่น มีพื้นผิวต่อเนื่องระหว่างพื้นปกติกับบริเวณพื้นทางลาดจะต้องเรียบไม่สะดุด สิ่งสำคัญคือติดตั้งราวจับทรงตัวตลอดทางเดิน โดยเฉพาะพื้นที่ต่างระดับ


คำนึงถึงขนาดและพื้นที่ในการเข้าไปใช้งาน (Size and Space for Approach and Use)

พื้นที่ในห้องน้ำ ควรจะมีขนาดความกว้างอย่างน้อย 1.5-2 เมตร เพื่อให้ผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็นวีลแชร์จะสามารถหมุนกลับตัวได้สะดวก ประตูห้องน้ำควรเป็นแบบบานเลื่อน ลูกบิดประตูควรเป็นแบบก้านโยกจะสะดวกกว่าเพราะไม่ต้องใช้แรงข้อมือมาก ที่สำคัญระวังเรื่องความชื้นในห้องน้ำ  สำหรับผนังห้องน้ำ เลือกใช้วัสดุที่ทนความชื้นได้ดี อย่าง ระบบผนังห้องน้ำตราช้าง ที่มีแผ่นผนัง สำหรับงานพื้นที่เปียกชื้นหลายรุ่นให้เลือกใช้งานตามความต้องการ ไม่ว่าจะเป็น แผ่นผนังทนชื้น มัลติวอลล์ ตราช้าง,  แผ่นยิปซัมทนชื้น ตราช้างพลัส (มอยส์บล็อก) โดยใช้ร่วมกับโครงคร่าวโลหะฝาผนังโปร-วอลล์ ตราช้าง    แนะนำให้ทำระบบกันซึมสำหรับผนังยิปซัมโดยทำตามมาตรฐานที่ผู้ผลิตกันซึมแนะนำ และติด “สัญญาณฉุกเฉิน” เพื่อรับรู้ถึงความผิดปกติและเข้ามาให้ความช่วยเหลือได้ทันท่วงทีหากเกิดเหตุการณ์ใดๆ ขึ้น


คำนึงถึงการใช้งานได้กับทุกคน (Equitable Use )

                งานออกแบบต้องคำนึงถึงความแตกต่างของสมรรถภาพร่างกายของคนทุกประเภท มอบความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งานทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เช่น การออกแบบให้มีพื้นที่ต่างๆในบ้าน เช่น มุมทานอาหาร มุมดูทีวี มุมทำงาน เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวสามารถมีพื้นที่ส่วนตัวในการทำกิจกรรมที่ตัวเองต้องการตามลำพัง โดยไม่รบกวนสมาชิกคนอื่นในบ้าน เช่น ห้องนั่งเล่นคุณตาคุณยาย ห้องเรียนออนไลน์สำหรับลูกน้อย หรือพื้นที่ส่วนกลางห้องรับประทานอาหารสำหรับทุกคนในครอบครัว สำหรับการกั้นห้อง  แนะนำให้ใช้การก่อสร้างระบบแห้ง เช่น ผนังยิปซัม ซึ่งจะสามารถติดตั้งผนังห้องได้เสร็จภายใน 3 วัน  อย่างระบบผนังโซลิดวอลล์ วี 2 ตราช้าง แข็งแรง ทนทาน และที่สำคัญ สามารถป้องกันเสียงระหว่างห้องได้ดีเยี่ยม โดยมีค่าการกันเสียงระหว่าง 43-52 dB  เหมาะแก่การใช้กั้นห้อง ทำเป็นห้องนอน ห้องนั่งเล่น เพื่อยกระดับความเงียบสงบให้พื้นที่ส่วนตัว

สุดท้าย หลักการออกแบบที่สำคัญคือ การให้คนมีส่วนร่วมในการออกแบบแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะคนที่มีเงื่อนไขหรือข้อจำกัดในการใช้ชีวิต  เพียงเราใส่ใจปรับจุดสำคัญในบ้าน ทุกคนในบ้านไม่ว่าจะเจ้าตัวเล็กไปจนถึงผู้สูงอายุต่างก็อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ตามหลักของ Universal Design ครับ