ESG คืออะไร? ทำความเข้าใจแนวคิดการลงทุนที่ยั่งยืน

ESG คืออะไร ทำไมถึงมีความสำคัญต่อโลกธุรกิจ?

ESG หมายถึง

 

ESG คืออะไร? หลายคนอาจเคยได้ยินแต่ยังไม่รู้ว่าความหมายที่แท้จริง เนื่องด้วยในปัจจุบัน แนวคิดเรื่องความยั่งยืนและการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่นักลงทุนและธุรกิจต่างให้ความสำคัญ ESG จึงเป็นหนึ่งในแนวคิดที่ได้รับความนิยมอย่างมากในการประเมินการดำเนินงานของบริษัทในแง่มุมที่เกินกว่าการดูแค่ผลกำไรระยะสั้น แต่ยังรวมถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และการบริหารจัดการองค์กรด้วย
 

สารบัญบทความ

ESG คืออะไร มีส่วนประกอบใดบ้าง?

ประโยชน์ของ ESG ส่งผลดีในด้านใดบ้าง?

ESG Risk คืออะไร มีผลกระทบอย่างไรบ้าง?

ESG แนวคิดที่เลือกนำมาใช้บริหารธุรกิจ

ESG คืออะไร มีส่วนประกอบใดบ้าง?

ESG ประกอบด้วย

 

ESG ย่อมาจาก Environmental (สิ่งแวดล้อม), Social (สังคม) และ Governance (ธรรมาภิบาล) โดยแนวคิด ESG คือกรอบการประเมินบริษัทที่นำเสนอว่าบริษัทเหล่านั้นดำเนินงานโดยคำนึงถึงปัจจัยที่มีผลต่อความยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างไร ดังนั้น มาดูว่า ESG หรือ Environmental, Social และ Governance คืออะไรกันบ้าง

Environmental (สิ่งแวดล้อม)

Environmental เป็นปัจจัยที่จะประเมินการดำเนินงานของบริษัทต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการป้องกันมลภาวะ ตัวอย่างเช่น บริษัทที่ใช้พลังงานทดแทนในการผลิตหรือมีมาตรการเพื่อลดการใช้น้ำและพลังงานในกระบวนการผลิต หรือให้ความสำคัญกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกโดยทำความเข้าใจว่า Carbon Footprint คืออะไร หรือ Net Zero คืออะไร จะได้รับการพิจารณาว่าเป็นบริษัทที่มีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี

Social (สังคม)

ปัจจัยด้านสังคมจะดูว่าบริษัทมีการปฏิบัติต่อพนักงาน ลูกค้า และชุมชนอย่างไร เช่น มีการจ้างงานอย่างยุติธรรม ปกป้องสิทธิมนุษยชน หรือสนับสนุนชุมชนรอบข้าง บริษัทที่มีความเท่าเทียมในการจ้างงานและมีนโยบายที่สนับสนุนพนักงานและชุมชนจะถือว่าให้ความสำคัญกับสังคม

Governance (ธรรมาภิบาล)

ปัจจัยด้านธรรมาภิบาลหมายถึงการบริหารจัดการองค์กรที่โปร่งใสและยุติธรรม เช่น การมีคณะกรรมการที่เป็นอิสระ การปฏิบัติตามกฎหมาย การเปิดเผยข้อมูลที่โปร่งใส บริษัทที่มีการจัดการที่ดีในด้านนี้จะมีความเสี่ยงน้อยที่จะเกิดปัญหาคอร์รัปชันหรือความขัดแย้งภายในองค์กร

ประโยชน์ของ ESG ส่งผลดีในด้านใดบ้าง?

การนำแนวคิด ESG คืออะไร มาใช้ในธุรกิจและการลงทุน มอบประโยชน์มากมายทั้งในด้านการสร้างคุณค่าให้กับองค์กรและสังคมในวงกว้าง โดยมีประโยชน์ดังนี้

1. ลดความเสี่ยงทางธุรกิจ

ESG คือปัจจัยที่ช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กฎหมายที่เข้มงวดมากขึ้นในเรื่องสิ่งแวดล้อม หรือปัญหาด้านธรรมาภิบาลและคอร์รัปชัน การทำงานตามมาตรฐาน ESG ช่วยให้บริษัทลดโอกาสในการเกิดปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจและชื่อเสียงได้

2. เพิ่มความน่าเชื่อถือและสร้างชื่อเสียง

การมีนโยบาย ESG ที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับบริษัท ทำให้ผู้บริโภค ลูกค้า และนักลงทุนมีความมั่นใจมากขึ้น 

3. ดึงดูดการลงทุน

บริษัทที่มีการปฏิบัติตามแนวคิด ESG มักจะได้รับความสนใจจากนักลงทุนที่สนใจการลงทุนในระยะยาว โดยเฉพาะในกลุ่มนักลงทุนที่ให้ความสำคัญกับการลงทุนที่ยั่งยืน (ESG Sustainability Investing) ซึ่งมองหาองค์กรที่มีศักยภาพในการเติบโตในอนาคตและมีความรับผิดชอบต่อโลกและสังคม

4. เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

การปฏิบัติตามมาตรฐาน ESG ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในหลาย ๆ ด้าน เช่น การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า การลดการใช้พลังงานและการจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสิ่งเหล่านี้ไม่เพียงช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงาน แต่ยังส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

5. สร้างความยั่งยืนในระยะยาว

การนำแนวคิด ESG มาปรับใช้ไม่ใช่เพียงการปฏิบัติเพื่อตอบสนองกระแสในปัจจุบันเท่านั้น แต่เป็นการสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการเติบโตขององค์กรในระยะยาว โดยการสร้างสมดุลระหว่างผลกำไรและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

6. พนักงานมีความพึงพอใจและจงรักภักดีมากขึ้น

บริษัทที่ให้ความสำคัญกับ ESG Framework รวมถึงมีการปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็นธรรม มีแนวโน้มที่จะทำให้พนักงานรู้สึกมีคุณค่าและมีความพึงพอใจในการทำงานมากขึ้น ส่งผลให้พนักงานมีความจงรักภักดีต่อองค์กรและมีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงขึ้น

7. ตอบสนองความคาดหวังของผู้บริโภคยุคใหม่

ผู้บริโภคในปัจจุบันให้ความสำคัญกับบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม การใช้แนวคิด ESG จะช่วยให้บริษัทตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น ทำให้บริษัทสามารถสู้คู่แข่งในตลาดได้

8. สร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ

การให้ความสำคัญว่า ESG คืออะไร สามารถเปิดโอกาสในการสร้างธุรกิจใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสีเขียวหรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น Green Building หรืออาคารเขียวรวมถึงการเป็นพันธมิตรกับองค์กรที่มีความรับผิดชอบเช่นเดียวกัน

9. สนับสนุนการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

การดำเนินธุรกิจตามแนวคิด ESG Model คืออะไร ไม่เพียงแต่ช่วยสร้างผลประโยชน์ทางธุรกิจ แต่ยังมีส่วนในการสนับสนุนการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ทั้งในด้านการลดมลพิษ การรักษาสิทธิมนุษยชน และการสนับสนุนชุมชน

ESG Risk คืออะไร มีผลกระทบอย่างไรบ้าง?

ESG Rating คือ

 

ESG Risk หรือ ความเสี่ยงด้านความยั่งยืน คือความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากปัจจัยในสามด้านหลัก ได้แก่ Environmental, Social และ Governance ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว สิ่งที่น่ากลัวก็คือความเสี่ยงเหล่านี้สามารถสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียง ภาพลักษณ์ ผลประกอบการ หรือแม้กระทั่งก่อให้เกิดการฟ้องร้องหรือการปรับโครงสร้างองค์กรได้

●  Environmental Risk (ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม) : เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากการไม่ปฏิบัติตามหรือจัดการผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่เพียงพอ เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจก การใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง ไม่ใช้วัสดุรักษ์โลก หรือปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งอาจส่งผลให้บริษัทถูกฟ้องร้อง ดำเนินคดี หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตดำเนินธุรกิจ

●  Social Risk (ความเสี่ยงด้านสังคม) : ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบทางสังคม เช่น การปฏิบัติต่อพนักงานอย่างไม่เป็นธรรม การละเมิดสิทธิมนุษยชน การขาดความโปร่งใสในกระบวนการจ้างงาน สิ่งเหล่านี้อาจนำไปสู่การถูกคว่ำบาตรจากสาธารณะ สูญเสียลูกค้าและพนักงานได้

●  Governance Risk (ความเสี่ยงด้านการกำกับดูแลกิจการ) : ความเสี่ยงที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการภายในองค์กร เช่น ปัญหาการทุจริต การจัดการภายในที่ไม่โปร่งใส การขาดคณะกรรมการอิสระ หรือการมีโครงสร้างการบริหารจัดการที่ไม่ดีพอ สิ่งเหล่านี้อาจทำให้บริษัทเผชิญกับปัญหาทางกฎหมาย สูญเสียความเชื่อมั่นจากนักลงทุน หรือการเกิดปัญหาคอร์รัปชันที่ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของบริษัทได้

ESG แนวคิดที่เลือกนำมาใช้บริหารธุรกิจ

ESG คือ กรอบแนวคิดที่ใช้ในการประเมินการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่เพียงแต่คำนึงถึงผลกำไร แต่ยังให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดย ESG ครอบคลุมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การดูแลสังคมรอบข้าง และการบริหารจัดการองค์กรอย่างโปร่งใสและยุติธรรม ช่วยให้บริษัทสามารถเติบโตอย่างยั่งยืนและสร้างคุณค่าที่มีผลดีในระยะยาว

ยิปซัมตราช้างเป็นตัวอย่างที่ดีของผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนแนวคิด ESG Framework โดยการผลิตเน้นที่การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยิปซัม คือผลิตภัณฑ์ที่ถูกผลิตโดยคำนึงถึงการลดของเสีย การใช้พลังงานทดแทน และการพัฒนาสินค้าที่มีคุณภาพสูงเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบันที่ต้องการบ้านรักษ์โลก

หากสนใจแผ่นยิปซัมตราช้าง สามารถหาซื้อได้ที่ร้านผู้แทนจำหน่ายเอสซีจี และร้านขายวัสดุก่อสร้างชั้นนำทั่วประเทศ ซึ่งมีจำหน่ายหลากหลายรูปแบบและขนาดที่ตอบโจทย์การใช้งานในการก่อสร้าง หรือค้นหาข้อมูลการใช้งานเพิ่มเติมได้ที่

●  เว็บไซต์ : https://www.siamgypsum.com/th_th/

●  Facebook : https://www.facebook.com/GypsumTraChangTH/

Reference

Gillis AS. (2024, October). What is ESG (environmental, social and governance). TeachTarget. https://www.techtarget.com/whatis/definition/environmental-social-and-governance-ESG