
กิจกรรมของมนุษย์เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อลดผลกระทบจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงมีแนวคิด Carbon Credit คือหน่วยวัดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดลงหรือกักเก็บได้จากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกต่าง ๆ
องค์กรหรือบุคคลที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนสามารถชดเชยปริมาณการปล่อยได้โดยการซื้อคาร์บอนเครดิต ซึ่งจะสนับสนุนโครงการที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมีบทบาทสำคัญในการบรรลุเป้าหมาย Net Zero คือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เหลือศูนย์ภายในอนาคตต่อไป
สารบัญบทความ
ทำความเข้าใจ Carbon Credit คืออะไร?
ประโยชน์ของ Carbon Credit คืออะไรบ้าง?
ตลาดคาร์บอนเครดิตคืออะไร สัมพันธ์กับ Carbon Credit อย่างไร?
ตลาดคาร์บอนเครดิตแบ่งออกเป็นกี่ประเภท
สถานการณ์ตลาดคาร์บอนในประเทศไทยตอนนี้
Carbon Credit คือเครื่องมือสำหรับองค์กรเพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ทำความเข้าใจ Carbon Credit คืออะไร?
Carbon Credit คือ สิทธิ์ที่ได้มาจากการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือการกักเก็บคาร์บอนจากโครงการหรือการดำเนินกิจกรรมที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสิทธิ์นี้สามารถวัดปริมาณและซื้อขายได้ในตลาดคาร์บอน หรือ Carbon Trading คือการที่องค์กรที่ลดการปล่อยก๊าซได้ต่ำกว่าเกณฑ์สามารถขายสิทธิ์เป็นเครดิตให้แก่องค์กรอื่นได้ หนึ่งหน่วยของคาร์บอนเครดิตจะเท่ากับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หนึ่งตัน
ทั้งนี้ องค์กรที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด จะได้รับเครดิตที่สามารถขายให้กับองค์กรอื่นที่ไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซได้ตามเป้าหมาย ถือเป็นกลไกหนึ่งในการสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกันลดปัญหาภาวะโลกร้อน
ประโยชน์ของ Carbon Credit คืออะไรบ้าง?

คาร์บอนเครดิตเป็นอีกหนึ่งแกนหลักสำคัญในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มาดูกันว่าคาร์บอนเครดิตจะมีประโยชน์ในแต่ละด้านอย่างไรบ้าง สามารถดูตัวอย่างได้ดังนี้
ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม
Carbon Credit มีบทบาทสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในด้านการลดภาวะโลกร้อน ผ่านการกระตุ้นการลงทุนในโครงการที่มุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การใช้พลังงานหมุนเวียนและเทคโนโลยีสะอาด หรือการออกแบบอาคารในลักษณะ Green Building ซึ่งช่วยลดการใช้พลังงานและทรัพยากร
นอกจากนี้ รายได้จากการขายคาร์บอนเครดิตยังสามารถนำไปสนับสนุนการปลูกป่า ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังสอดคล้องกับแนวทาง ECO-Friendly คือ การดำเนินชีวิตที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างสมดุลให้กับสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
ประโยชน์ต่อสังคม
คาร์บอนเครดิตมีประโยชน์ต่อสังคมโดยการส่งเสริมความยั่งยืนในธุรกิจ โดยเป็นส่วนหนึ่งของ ESG คือ แนวทางที่ช่วยให้องค์กรดำเนินการอย่างมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และการบริหารจัดการที่ดี
การจัดการคาร์บอนเครดิตยังช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กร ทำให้ได้รับการยอมรับจากสังคมและเป็นกระบอกเสียงสำคัญที่กระตุ้นให้ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับปัจเจกบุคคลและชุมชนมากขึ้น
ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ
คาร์บอนเครดิต คือธุรกิจแห่งอนาคต ที่จะช่วยสร้างรายได้ให้แก่องค์กรโดยเฉพาะองค์กรที่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ ผ่านการขายคาร์บอนเครดิตในตลาดการซื้อขาย นอกจากนี้ คาร์บอนเครดิตยังช่วยกระตุ้นการลงทุนในเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาด เช่น การพัฒนาวัสดุรักษ์โลก หรือเทคโนโลยีการสร้างบ้านรักษ์โลก ซึ่งช่วยลดการใช้พลังงานและทรัพยากรในระยะยาว
และยิ่งในปัจจุบัน ผู้บริโภคเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้ธุรกิจที่ผลิตสินค้าและบริการเหล่านี้มีโอกาสเติบโตต่อไป
ตลาดคาร์บอนเครดิตคืออะไร สัมพันธ์กับ Carbon Credit อย่างไร?
ตลาด Carbon Credit หมายถึง ระบบการซื้อขายคาร์บอนเครดิตที่เปิดให้ทั้งภาครัฐและเอกชนมีส่วนร่วม โดยตลาดนี้มีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้องค์กรที่ไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ตามข้อกำหนด สามารถซื้อคาร์บอนเครดิตจากองค์กรอื่นที่สามารถลดการปล่อยมลพิษได้แทน
สรุปง่าย ๆ ตลาด Carbon Credit คือองค์กรใดสามารถดำเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซได้ต่ำกว่าที่ได้รับสิทธิ์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ องค์กรนั้นสามารถขายส่วนเกินเป็นคาร์บอนเครดิตในตลาด แต่หากองค์กรใดปล่อยก๊าซเกินขีดจำกัดที่กำหนดไว้ องค์กรนั้นจำเป็นต้องซื้อคาร์บอนเครดิตจากตลาดเพื่อชดเชยส่วนที่ขาด ซึ่งช่วยกระตุ้นให้เกิดการลดการปล่อยมลพิษและสนับสนุนการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนนั่นเอง
อ่านเนื้อหาที่น่าสนใจเพิ่มเติม: รอยเท้าคาร์บอน Carbon Footprint คืออะไร?
ตลาดคาร์บอนเครดิตแบ่งออกเป็นกี่ประเภท
ตลาดคาร์บอนเครดิตสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก อ้างอิงตามลักษณะการเข้าร่วมและการควบคุม โดยแต่ละประเภทมีกลไกและวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน
ตลาดคาร์บอนภาคบังคับ (Compliance Carbon Market)
เป็นตลาดที่รัฐบาลกำหนดกฎเกณฑ์ให้ภาคธุรกิจต้องเข้าร่วม โดยมีการกำหนดสิทธิ์ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดที่อนุญาต หากองค์กรหรือบริษัทใดปล่อยเกินกว่าสิทธิ์ที่กำหนด จำเป็นต้องซื้อคาร์บอนเครดิตมาชดเชยเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้ เพราะถ้าองค์กรใดไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดจะถูกลงโทษตามผลผูกพันทางกฎหมาย
ตลาดคาร์บอนสมัครใจ (Voluntary Carbon Market)
เป็นตลาดที่ไม่ได้มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่เกิดขึ้นจากความสมัครใจขององค์กรหรือบุคคลที่ต้องการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยองค์กรเหล่านี้สามารถซื้อขายคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตน
สถานการณ์ตลาดคาร์บอนในประเทศไทยตอนนี้

ในประเทศไทย ตลาดคาร์บอนเครดิตยังคงอยู่ในรูปแบบ ตลาดภาคสมัครใจ (Voluntary Carbon Market) ซึ่งหมายความว่าการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในประเทศยังไม่ได้มีกฎหมายบังคับใช้อย่างชัดเจน และปัจจุบันมีการซื้อขายCarbon Credit อยู่ 2 ประเภท คือ
● การซื้อขายผ่านมาตรฐานต่างประเทศ เช่น โครงการลดก๊าซเรือนกระจกตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM) และมาตรฐานอื่น ๆ เช่น Gold Standard (GS) และ VERRA (VCS)
● การซื้อขายตามมาตรฐานในประเทศ ผ่านโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) ที่พัฒนาโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.)
การซื้อขายคาร์บอนเครดิตดำเนินการผ่านโครงการ T-VER นี้ ปริมาณคาร์บอนเครดิตที่ได้รับการรับรองเพิ่มขึ้นจาก 0.25 ล้านตันคาร์บอนฯ ในปี 2559 เป็น 3.03 ล้านตันคาร์บอนฯ ในปี 2564 นอกจากนี้ ตลาดคาร์บอนยังเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญในแผนแม่บทการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558–2593 และ (ร่าง) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ซึ่งมุ่งเน้นการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ
สรุปได้ว่า ปริมาณการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในประเทศไทยยังน้อยเมื่อเทียบกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดของประเทศ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะตลาดคาร์บอนในไทยเป็นแบบภาคสมัครใจ จึงไม่ได้มีกฎหมาย ข้อบังคับต่าง ๆ เกี่ยวกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายของประเทศ จึงทำให้การลดเป็นไปได้ช้า
ดังนั้น เพื่อให้ภาคธุรกิจโดยรวมหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจังประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนากลไกและโครงสร้างพื้นฐานของตลาดคาร์บอนหรือธุรกิจคาร์บอนเครดิตเป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจกและบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
Carbon Credit คือเครื่องมือสำหรับองค์กรเพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) คือเครื่องมือที่ช่วยให้องค์กรสามารถชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผ่านการดำเนินโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการปลูกป่า โครงการพลังงานสะอาด หรือโครงการผลิตพลังงานหมุนเวียนเพิ่มการดูดซับก๊าซเรือนกระจ
ผลิตภัณฑ์ของ ยิปซัมตราช้าง นั้นมีคุณสมบัติที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเพิ่มความยั่งยืนในการใช้งาน อย่างแผ่นยิปซัมที่มีผสมมาจากกระบวนการรีไซเคิล ช่วยลดปริมาณขยะรวมถึงช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อีกด้วย
หากท่านใดสนใจ สามารถหาซื้อผลิตภัณฑ์ได้ที่ร้านผู้แทนจำหน่ายเอสซีจี หรือร้านขายวัสดุก่อสร้างชั้นนำทั่วประเทศ ค้นหาข้อมูลการใช้งานเพิ่มเติมได้ที่
● เว็บไซต์: https://www.siamgypsum.com/th_th/
● Facebook: https://www.facebook.com/GypsumTraChangTH/